คำว่า "ตาย" เป็นคำที่ห่างไกลจากความคิดเรามาก อาจจะมีแว่บเข้ามาในความคิดคำนึงบ้าง เมื่อมีเรื่องชวนให้คิด เช่น ไปงานศพ หรือดูภาพยนตร์ แต่จะให้มานั่งคิดว่า วันหนึ่งเราคงต้องตาย เราไม่คิดถึงขนาดนั้นหรอกค่ะ อาจเป็นเพราะที่ผ่านมาเรามีความสุขดี อาจมีปัญหาเข้ามาในชีวิตบ้าง ก็เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ แต่ไม่มีอะไรที่เราจัดการไม่ได้ เมื่อเราสามารถจัดการกับทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวได้มาตลอด มันทำให้เรามั่นใจเกินไป ทะนงในตัวเอง พอถึงวันที่เรามารู้ว่า ยังมีสิ่งที่อยู่เหนือการควบคุมของเรา ซึ่งเราจัดการไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่มันอยู่ในร่างกายของเรา แต่เรากลับควบคุมมันไม่ได้ แล้วมันยังต้องอยู่กับเราตลอดไป จนตายไปด้วยกัน มันทำให้เรารู้สึกแย่มาก ๆ ความมั่นใจทั้งหมดที่มี มันเหือดหายไป คืนนั้น เป็นครั้งแรกที่คิดถึงคำว่า "ตาย" อย่างจริงจัง
วันที่รู้ว่าตัวเองป่วย ความรู้สึกแรกคือ งง ทบทวนอยู่หลายครั้ง ว่าเรื่องจริงหรือเปล่า แล้วก็เริ่มสับสนกับตัวเอง เหมือนยังตั้งหลักไม่ได้ ใจหนึ่งก็อยากร้องไห้ให้มันสาแก่ใจไปเลยกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเอง แต่อีกใจหนึ่งก็ไม่ยอมให้ร้องไห้ ด้วยนิสัยที่มั่นใจว่าจัดการทุกอย่างได้ ฉะนั้นต้องไม่ร้องไห้ โดยเฉพาะที่บ้าน แล้วที่สำคัญ ไม่อยากให้คนรอบข้างรู้สึกทุกข์ไปกับเรา แต่ต้องยอมรับว่าเราแอบร้องไห้หลายครั้ง
สิ่งสำคัญที่ต้องจัดการก่อนคือ ใจ ต้องให้ใจมีแรงที่จะสู้ก่อน ใจนี่บางวันก็สู้ดี ประมาณว่า เป็นไงเป็นกัน บางวันใจก็รู้สึกแย่ ต้องปลุกต้องกระตุ้นให้สู้อยู่เรื่อย เลยต้องหาวิธีจัดการกับใจตัวเองก่อนเป็นอับดับแรก ต้องหาวิธีคิดให้ตัวเองสบายใจขึ้น เมื่อเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เกิดขึ้นได้แล้ว สิ่งที่ทำได้ในตอนนี้คือ เปลี่ยนมุมมองให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขขึ้น งั้นก็คิดว่าสิ่งที่เรากำลังเผชิญอยู่เป็น "กรรม" ของเราเองก็แล้วกัน เมื่อเป็น "กรรม" ของเรา ก็ขอชดใช้ให้หมดในชาตินี้ และก็อาจถึงเวลาสะสมบุญก่อนตาย "กรรมเก่า จะชดใช้ บุญใหม่ จะทำ"
เราหันมาอ่านธรรมะ ฝึกสมาธิ ทำให้เราสบายใจขึ้น การคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็น "กรรม" ทำให้เรายอมรับความเจ็บป่วยและสามารถเผชิญได้มากขึ้น การคิดเรื่อง "บุญ" ในทัศนของเรา เราว่าเป็นเรื่องของการให้ มีความสุขกับการให้ ไม่ใช่เฉพาะการให้ที่เป็นวัตถุ สิ่งของ ที่มองเห็นเป็นรูปธรรม แต่รวมถึง การให้อภัย ให้ความเมตตา ให้โอกาส ฯลฯ ให้สิ่งที่มองไม่เห็นเป็นรูปธรรม แต่เมื่อเราให้แล้ว เราจะได้รับความสุขใจ ฉะนั้นสิ่งที่เราสะสม คือ สะสมความสุขใจ
เราคิดว่าความสุขใจที่เรากำลังสะสม เป็นเสมือนน้ำที่หล่อเลี้ยง ทำให้เรามีแรงใจที่จะสู้ต่อไป
วันที่รู้ว่าตัวเองป่วย ความรู้สึกแรกคือ งง ทบทวนอยู่หลายครั้ง ว่าเรื่องจริงหรือเปล่า แล้วก็เริ่มสับสนกับตัวเอง เหมือนยังตั้งหลักไม่ได้ ใจหนึ่งก็อยากร้องไห้ให้มันสาแก่ใจไปเลยกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเอง แต่อีกใจหนึ่งก็ไม่ยอมให้ร้องไห้ ด้วยนิสัยที่มั่นใจว่าจัดการทุกอย่างได้ ฉะนั้นต้องไม่ร้องไห้ โดยเฉพาะที่บ้าน แล้วที่สำคัญ ไม่อยากให้คนรอบข้างรู้สึกทุกข์ไปกับเรา แต่ต้องยอมรับว่าเราแอบร้องไห้หลายครั้ง
สิ่งสำคัญที่ต้องจัดการก่อนคือ ใจ ต้องให้ใจมีแรงที่จะสู้ก่อน ใจนี่บางวันก็สู้ดี ประมาณว่า เป็นไงเป็นกัน บางวันใจก็รู้สึกแย่ ต้องปลุกต้องกระตุ้นให้สู้อยู่เรื่อย เลยต้องหาวิธีจัดการกับใจตัวเองก่อนเป็นอับดับแรก ต้องหาวิธีคิดให้ตัวเองสบายใจขึ้น เมื่อเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เกิดขึ้นได้แล้ว สิ่งที่ทำได้ในตอนนี้คือ เปลี่ยนมุมมองให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขขึ้น งั้นก็คิดว่าสิ่งที่เรากำลังเผชิญอยู่เป็น "กรรม" ของเราเองก็แล้วกัน เมื่อเป็น "กรรม" ของเรา ก็ขอชดใช้ให้หมดในชาตินี้ และก็อาจถึงเวลาสะสมบุญก่อนตาย "กรรมเก่า จะชดใช้ บุญใหม่ จะทำ"
เราหันมาอ่านธรรมะ ฝึกสมาธิ ทำให้เราสบายใจขึ้น การคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็น "กรรม" ทำให้เรายอมรับความเจ็บป่วยและสามารถเผชิญได้มากขึ้น การคิดเรื่อง "บุญ" ในทัศนของเรา เราว่าเป็นเรื่องของการให้ มีความสุขกับการให้ ไม่ใช่เฉพาะการให้ที่เป็นวัตถุ สิ่งของ ที่มองเห็นเป็นรูปธรรม แต่รวมถึง การให้อภัย ให้ความเมตตา ให้โอกาส ฯลฯ ให้สิ่งที่มองไม่เห็นเป็นรูปธรรม แต่เมื่อเราให้แล้ว เราจะได้รับความสุขใจ ฉะนั้นสิ่งที่เราสะสม คือ สะสมความสุขใจ
เราคิดว่าความสุขใจที่เรากำลังสะสม เป็นเสมือนน้ำที่หล่อเลี้ยง ทำให้เรามีแรงใจที่จะสู้ต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น